|
|
fjrigjwwe9r0tb_Effect_Java:StatusBar
|
เขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA |
|
|
|
อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 โดยเป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่อมาบรูไนฯ ได้ร่วมเป็นสมาชิกในปี 2527 ปัจจุบันจึงมี ประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ปี 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี
ในปี 2535 อาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff) (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA) เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้าภายในภูมิภาค ดึงดูดการลงทุน และเสริมสร้างสถานะการต่อรองในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ
ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 26 ปี 2537 ได้มีมติให้ร่นระยะเวลาดำเนินการเขต การค้าเสรีอาเซียนจาก 15 ปี เหลือ 10 ปี มีเป้าหมายให้ลดภาษีลงให้เหลือร้อยล่ะ 0-5 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ ภาษีศุลกากรภายใน 10 ปี (2536-2546)
ขอบเขตสินค้า
ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศิลธรรม ชีวิต และศิลปะ และอนุโลมให้มีรายการสินค้าเกษตร ไม่แปรรูปที่ยังไม่พร้อมที่จะนำมาลดภาษีตามกำหนดระยะเวลาได้
ไทยได้อะไรจาก AFTA
การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำหนดให้ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งทางด้านภาษี และที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสินค้าสำเร็จรูป สินค้าชั้นกลาง และวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่าประเทศไทยจะได้เปรียบ และส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณี และเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์ สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด
|
|

|
การลงทุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 340 ล้านคน จะทำให้อาเซียนรวมทั้งไทยกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค
การเสริมสร้างสถานะการแข่งขันการนำเข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาดตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ ได้รับจากการลงทุนจากต่างประเทศ จะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้าง สถานะทางการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมย์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจการต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|